วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตำนานเพลงไทยลูกทุ่ง




ตำนานเพลงไทยลูกทุ่ง
โดย...นายสิรภพ ใจสุภาพ
รองผู้อำนวยการสำนักการศึกษาต่อเนื่อง

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2553)

          ในสมัยก่อนมีนักร้อง นักดนตรี กลุ่มหนึ่งที่ชอบร้องแล้วก็แต่งเพลงที่มีเนื้อหาบรรยากาศเกี่ยวกับชีวิตชาวชนบท หนุ่มสาวบ้าน
นาและความยากจน ชาวบ้านเรียกเพลงกลุ่มนี้ว่า เพลงตลาด หรือเพลงชีวิต ต่อมาเพลงเหล่านี้ถูกจัดประเภทและก็แยกเป็นเอกเทศ
โดยเรียกตัวเองว่า “เพลงไทยลูกทุ่ง”




















   เพลงลูกทุ่งเป็นเพลงที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน เพลงลูกทุ่งจะสะท้อนชีวิต สภาพสังคม อุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วง
ทำนอง มีคำร้อง สำเนียง ลีลาการร้อง การบรรเลงที่เป็นแบบแผนเฉพาะของตนเอง มีลักษณะเฉพาะซึ่งฟังแล้วจะให้บรรยากาศของ
ความเป็นลูกทุ่ง สิ่งนี้คือความหมายของเพลงลูกทุ่ง ตลาดของเพลงลูกทุ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ มูลค่าการตลาดปีหนึ่งประมาณพันห้าร้อย
ล้านบาท ตลาดหลักจะอยู่ที่ภาคอีสานประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นก็กระจายไปตามภาคต่าง ๆ สมัยก่อนมีบันทึกไว้ว่าย้อนหลังไป
เมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง จะมีเพลงไทยที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีสากล ซึ่งในระยะแรกยังไม่ได้แบ่งชัดเจนว่าเป็นเพลง
ไทยสากล หรือเพลงไทยลูกทุ่ง ต่อมาถึงมีการแบ่งชัดเจนขึ้น คือถ้านับปีกำเนิดของเพลงที่ถือว่าเป็นแนวลูกทุ่งก็คือ เพลง ขวัญของ
เรียม ซึ่งมีหลักฐานบันทึกเอาไว้แต่บางหลักฐานก็บันทึกไว้ว่าเพลงแรกก็คือเพลง โอ้เจ้าสาวชาวไร่ เป็นผลงานประพันธ์ทำนอง คำร้อง
ของครูเหม ยศกร เมื่อปี 2481
          หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ดนตรีที่เป็นเพลงไทยสากล เพลงลูกทุ่ง เริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีสากลเข้ามาบรรเลงและค่อย ๆ
แยก ชัดเจนขึ้น เพลงไทยลูกทุ่งมีองค์ประกอบหลัก ๆ ที่ทำให้มีความน่าสนใจคือมีเรื่องของทำนอง จังหวะ คำร้อง เครื่องดนตรี และ
หางเครื่อง
          เรื่องของทำนองและจังหวะ เพลงลูกทุ่งมีทำนองและจังหวะที่หลากหลายมาก บางเพลงจะดัดแปลงมาจากเพลงไทยเดิม บาง
เพลงมาจากการขับร้องลิเกบางเพลงมาจากเพลงแหล่ เช่น นักร้องเพลงแหล่ที่รู้จักกันดีมี พรภิรมย์ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
ชินกร ไกรลาศ
         เรื่องคำร้อง คำร้องในแง่ของการใช้ภาษา เพลงลูกทุ่งมี 2 รูปแบบ คือ 1. ภาษามาตรฐาน 2. ภาษาชาวบ้านภาษามาตรฐาน คือ
เพลงลูกทุ่งที่กล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับนิทาน ชาดก พุทธประวัติ หรือวรรณคดีของไทย ส่วนภาษาชาวบ้าน คือภาษาพื้น ๆ ที่ชาวบ้านพูดกัน
โดยทั่วไป เป็นภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจโดยเฉพาะในชาวชนบท สาระสำคัญของคำร้อง ส่วนใหญ่เพลงลูกทุ่งจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับ
คุณค่าของสังคมไทยหรือวิถีของชาวบ้านในชนบททั่ว ๆ ไป ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของชาวชนบทที่ส่วนใหญ่จะยังยึดมั่นอยู่
กับขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ศาสนา บุญกรรม และมักจะพูดถึงการทำบุญในเทศกาลต่าง ๆ
          เรื่องของเครื่องดนตรี เพลงไทยลูกทุ่งไม่ได้เล่นด้วยเครื่องดนตรีสากลอย่างเดียวยังใช้เครื่องดนตรีของไทยเข้าไปผสมด้วย
แล้วแต่ว่าเพลงลูกทุ่งเพลงนั้นจะแต่งโดยนักร้องหรือว่านักแต่งเพลงของภาคไหน ถ้าคนแต่งที่เป็นชาวอีสานก็มักจะมีเครื่องดนตรี
ทางภาคอีสานเข้ามาผสม เช่น แคน โปงลาง ถ้าเป็นเพลงทางภาคเหนือก็มี ซึง พิณ ถ้าภาคใต้จะมีกลอง โม่ง ส่วนของภาคกลาง
ค่อนข้างจะเยอะจะมีทั้ง กลองยาว ระนาด ฉิ่ง กรับ โทน บางครั้งก็มี ขลุ่ย เข้ามาด้วย จะเห็นว่าเครื่องดนตรีไม่ใช่เครื่องดนตรีสากล
ล้วนอย่างเดียว สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือหางเครื่อง หางเครื่องจริง ๆ แล้ว เดิมมาจากคำว่า เขย่าหางเครื่อง ก็คือพวกเครื่องเขย่าที่ทำให้
เกิดจังหวะ แรก ๆ ผู้เขย่าหางเครื่องก็มีทั้งหญิง ทั้งชาย ไม่ได้เป็นกลุ่มคณะ พอต่อมาได้มีการพัฒนาโดยเอาผู้หญิงสวย ๆ มาเขย่า
หางเครื่อง ดูน่าสนใจ ซึ่งตอนหลังได้ออกมาเต้นหน้าวง ต่อมาได้มีการพัฒนาจากระบำของฝรั่งพวก modern dance เข้ามาผสม
ด้วย เลยเกิดเป็นหางเครื่องและมีการพัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน วงดนตรีลูกทุ่งถ้าไม่มีหางเครื่องเหมือนจะขาดสีสัน สิ่งนี้คือ
ลักษณะที่ทำให้เพลงลูกทุ่ง มีความน่าสนใจแล้วก็มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ




          ประวัติทางด้านดนตรีของเพลงลูกทุ่งยุคทอง คือยุคของคุณสุรพล สมบัติเจริญ ส่วนใหญ่จะแต่งเพลงร้องเองท่านเริ่มชีวิตการ
ร้องเพลงจากกองดุริยางค์ทหารอากศ เพลงที่ท่านแต่งจะเน้นความสนุกสนาน และชอบใช้พื้นฐานจากเพลงรำวง เช่น เพลงเสียวไส้
กล่าวได้ว่าเป็นช่วงที่เพลงลูกทุ่งพัฒนาไปจนถึงจุดสุดยอด ซึ่งอยู่ในช่วงปีประมาณ 2506 จนถึง 2513 ถือว่าเป็นยุคทอง ยุคนั้นเริ่ม
มีคนดัง เข้ามาในวงการ เช่น พีระ ตรีบุปผา พรภิรมย์ สุชาติ เทียนทองชัย , ชาย เมืองสิงห์ และเพลิน พรหมแดน ช่วงต่อมา เป็นยุค
แห่งการแข่งขันอยู่ในช่วงประมาณปี 2513 – 2515 มีการแข่งขันกันค่อนข้างมากระหว่างเพลงไทยลูกกรุงและเพลงไทยลูกทุ่ง
นักแต่งเพลงพยายามที่จะสร้างเอกลักษณ์ประจำตัวให้นักร้องแต่ละคน นักร้องแต่ละคนนอกจากร้องเพลงแล้วก็เข้ามาสู่บทบาทการ
แสดงภาพยนตร์ มีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งเอาเพลงเข้ามาประกอบแล้วประสบความสำเร็จมากก็คือ เรื่องมนต์รักลูกทุ่ง โดยมี
มิตร ชัยบัญชา นำแสดง เป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จมาก ต่อมามีการสร้างภาพยนตร์โดยนำเอาเพลงลูกทุ่งมาประกอบก็อีก
หลายเรื่อง
          ยุคต่อมา เป็นยุคเพลงเพื่อชีวิตและการเมือง หลังจากวันที่ 14 ตุลาคม 2516 มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเพลงเพื่อชีวิต
ก็เป็นเพลงที่โดดเด่นขึ้นมา ในวงการลูกทุ่งก็เหมือนกัน จะมีการแต่งเพลงทำนองที่เป็นเพลงเพื่อชีวิตเหมือนกันแต่ก็ไม่นานเท่าไหร่
คนที่แต่งเพลงแนวนี้ดัง ๆ ได้แก่ สงเคราะห์ สมรรถพาพงศ์ ส่วนใหญ่เป็นเพลงล้อเลียนการเมือง เสียดสี ขับร้องโดย
คุณเพลิน พรหมแดน อย่างเช่น เพลงกำนันผันเงิน เพลงพรรคกระสอบหาเสียง
          ช่วงต่อมา เกิดวิวัฒนาการใหม่ในเพลงลูกทุ่ง คือ ช่วงปี 2520 – 2528 มีนักร้อง นักดนตรี เกิดขึ้นใหม่จำนวนมาก มีการ
ประกวดประชันกันในเรื่องของหางเครื่องมาก ช่วงนี้มีนักร้องที่เรียกว่าราชินีของเพลงลูกทุ่งก็คือ คุณพุ่มพวง ดวงจันทร์ ซึ่งเป็น
นักร้องที่มาแรงมาก มีการแสดงคอนเสริร์ต เดิมการแสดงดนตรีลูกทุ่งส่วนใหญ่จัดตามงานวัด แต่ของคุณพุ่มพวง มาจัดที่ เซ็นทรัล
พลาซ่า เพลงที่โด่งดังมาก คือเพลงกระแซะ
          มาถึงยุคปัจจุบัน ค่อนข้างจะมีความเป็นธุรกิจสูงขึ้น คือ มีค่ายเพลงใหญ่ไม่ว่าจะเป็น แกรมมี่ อาร์เอส แล้วก็มีค่ายเล็ก ๆ มาก
มาย ยุคนี้มีศิลปินหน้าใหม่เข้ามาสู่วงการเพลงเยอะ มีการเอาเพลงเก่ามาทำใหม่ เช่น คุณจักรพันธ์ (ก๊อต) จะสังเกตได้ว่าเค้าดังจาก
การเอาเพลงเก่ามาร้องใหม่ซึ่งร้องได้ดีมาก และมีบางคนเปลี่ยนแนวมาทำเพลงลูกทุ่ง เช่น คุณทัช ณ ตะกั่วทุ่ง , คุณต้อม เรนโบว์ ,
คุณเทียรี่ เมฆวัฒนา แล้วเพลงลูกทุ่งยุคนี้จะไม่ได้เปิดเฉพาะคลื่น AM แล้ว แต่ขยายเข้ามาในคลื่น FM ซึ่งเป็นคลื่นในเมือง และนี้
คือวิวัฒนาการของเพลงลูกทุ่งในแต่ละยุค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น