วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


รวมลิงค์ TAG เพลงลูกทุ่งรับเดือนแห่งความรัก 

โพสต์เมื่อวันที่ : IP : เปิ2499 ดอ่าน : / 2 ความเห็น
คะแนนของ BLOG นี้ (40.00%-5 ผู้โหวต)


+++++++++++++++

น้ำลงเดือนยี่ - ลูกเสือหมายเลข9
http://www.oknation.net/blog/chainews/2010/01/25/entry-1

เพลงรักของพุ่มพวง - รวงข้าวล้อลม
http://www.oknation.net/blog/roungkaw/2010/01/25/entry-3

ขี้เหร่ก็รัก - tengpong
http://www.oknation.net/blog/tengpong/2010/01/26/entry-1
รักแม่หม้าย - มะอึก
http://www.oknation.net/blog/panakom/2010/01/26/entry-4
หิ่งห้อยกับตะวัน - MT-PONG
http://www.oknation.net/blog/NICHAKHAN/2010/01/26/entry-2
เปิดใจสาวแต - มัชฌิมาปกร
http://www.oknation.net/blog/kintaro/2010/01/26/entry-1
แด่คนชื่อเจี๊ยบ - soonthorn
http://www.oknation.net/blog/soonthorn-filmkayab/2010/01/26/entry-2
รักเธอเท่าฟ้า-มนต์เสียงเพลง
http://www.oknation.net/blog/magicsoundsong/2010/01/21/entry-1
สาวเพชรบุรี-ภาษาไทย
http://www.oknation.net/blog/snowy/2010/01/26/entry-1
น้ำลงนกร้อง - Bluehill
http://www.oknation.net/blog/charlee/2010/01/26/entry-2
ตังเก -นีโอ
http://www.oknation.net/blog/neozone/2010/01/26/entry-1
ร้องไห้กับเดือน - สิงห์มือซ้าย
http://www.oknation.net/blog/SingMeuSai/2010/01/26/entry-2
กระท่อมกัญชา - จักรวาล
http://www.oknation.net/blog/sawitkhaenkhan/2010/01/26/entry-1
สุขกันเถอะเรา - มิตรภาพไร้พรมแดน
ไม่ใช่แฟนทำแทนไม่ได้ - luerat
http://www.oknation.net/blog/hrd/2010/01/27/entry-3
รักเก่าที่บ้านเกิด - นายหัวไทร
http://www.oknation.net/blog/naiman/2010/01/27/entry-1
สนุกเกอร์ - เม็ดดิน
http://www.oknation.net/blog/iaun/2010/01/27/entry-1
บ้านเรือนเคียงกัน - ครูทิพย์
http://www.oknation.net/blog/Tip2/2010/01/27/entry-1
สาวนาสั่งแฟน - redribbons07
http://www.oknation.net/blog/redribbons07/2010/01/27/entry-2
ชมทุ่ง -คนช่างเล่า
http://www.oknation.net/blog/nukpan/2010/01/27/entry-1
ค่าน้ำนม - singlemom99
http://www.oknation.net/blog/MotherandSon/2010/01/27/entry-1
ท้ารัก -ดินเดินทาง
http://www.oknation.net/blog/j-din/2010/01/27/entry-1
เหนื่อยไหมคนดี - พิมญดา
http://www.oknation.net/blog/pimydanarak/2010/01/27/entry-1
คนร่วมชายคา - ตะวันแดง
http://www.oknation.net/blog/tawan642/2010/01/27/entry-1
ผู้ยิ่งใหญ่ - ปรัตยา
http://www.oknation.net/blog/chief-dan/2010/01/27/entry-1
ปรารถนา - กอบธรรม
http://www.oknation.net/blog/anakkumlangbai/2010/01/27/entry-1
จะขอก็รีบขอ - bomza
http://www.oknation.net/blog/bomza/2010/01/27/entry-2
เปาบุ้นจิ้นเผาศาล - ไอลี่
http://www.oknation.net/blog/ilyy/2010/01/27/entry-1
พี่ไม่มีแฟน - นามสมมติ
http://www.oknation.net/blog/zaalang/2010/01/27/entry-2


แผลเป็นวันวาเลนไทน์ - สาวอีสานอินเตอร์
http://www.oknation.net/blog/spj/2010/01/27/entry-1
มีเธอจึงมีฝัน - นกบนท้องฟ้า
http://www.oknation.net/blog/benjama/2010/01/27/entry-1
แทนความคิดถึง - chompoopookha
http://www.oknation.net/blog/chompoopookha/2010/01/27/entry-2
ฉันทนาที่รัก - กวีจร_ณ_โคราชา
http://www.oknation.net/blog/kaweejorn/2010/01/27/entry-1
รักข้ามโขง - nangrong
http://www.oknation.net/blog/nangrong/2010/01/27/entry-2
จดหมายเป็นหมัน - หน่อผุด
http://www.oknation.net/blog/korpai/2010/01/27/entry-1
อะไรจะเกิดมันก็เกิด - SweetyWana
http://www.oknation.net/blog/sweetywana/2010/01/27/entry-1
สาวมอญคนสวย - SHIW
http://www.oknation.net/blog/Pasinee/2010/01/27/entry-1
พ่อพี่ไม่ได้เป็นนายก - KOPPIE
http://www.oknation.net/blog/koppie/2010/01/27/entry-1
คืนนี้เมื่อปีกลาย - loongmoo
http://www.oknation.net/blog/ya-ma-rach-cho/2010/01/27/entry-1
ยอยศพระลอ - Cat@
http://www.oknation.net/blog/catadler/2010/01/27/entry-1
มนต์รักแม่กลอง -  วรรณ
http://www.oknation.net/blog/wunwarinya07/2010/01/27/entry-1
สาวฝั่งโขง - เพลงกระบี่ฯ
http://www.oknation.net/blog/plaengkrabi/2010/01/27/entry-1

ขอขอบคุณ เว็บไซต์ .



วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตำนานเพลงไทยลูกทุ่ง




ตำนานเพลงไทยลูกทุ่ง
โดย...นายสิรภพ ใจสุภาพ
รองผู้อำนวยการสำนักการศึกษาต่อเนื่อง

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2553)

          ในสมัยก่อนมีนักร้อง นักดนตรี กลุ่มหนึ่งที่ชอบร้องแล้วก็แต่งเพลงที่มีเนื้อหาบรรยากาศเกี่ยวกับชีวิตชาวชนบท หนุ่มสาวบ้าน
นาและความยากจน ชาวบ้านเรียกเพลงกลุ่มนี้ว่า เพลงตลาด หรือเพลงชีวิต ต่อมาเพลงเหล่านี้ถูกจัดประเภทและก็แยกเป็นเอกเทศ
โดยเรียกตัวเองว่า “เพลงไทยลูกทุ่ง”




















   เพลงลูกทุ่งเป็นเพลงที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน เพลงลูกทุ่งจะสะท้อนชีวิต สภาพสังคม อุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วง
ทำนอง มีคำร้อง สำเนียง ลีลาการร้อง การบรรเลงที่เป็นแบบแผนเฉพาะของตนเอง มีลักษณะเฉพาะซึ่งฟังแล้วจะให้บรรยากาศของ
ความเป็นลูกทุ่ง สิ่งนี้คือความหมายของเพลงลูกทุ่ง ตลาดของเพลงลูกทุ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ มูลค่าการตลาดปีหนึ่งประมาณพันห้าร้อย
ล้านบาท ตลาดหลักจะอยู่ที่ภาคอีสานประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นก็กระจายไปตามภาคต่าง ๆ สมัยก่อนมีบันทึกไว้ว่าย้อนหลังไป
เมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง จะมีเพลงไทยที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีสากล ซึ่งในระยะแรกยังไม่ได้แบ่งชัดเจนว่าเป็นเพลง
ไทยสากล หรือเพลงไทยลูกทุ่ง ต่อมาถึงมีการแบ่งชัดเจนขึ้น คือถ้านับปีกำเนิดของเพลงที่ถือว่าเป็นแนวลูกทุ่งก็คือ เพลง ขวัญของ
เรียม ซึ่งมีหลักฐานบันทึกเอาไว้แต่บางหลักฐานก็บันทึกไว้ว่าเพลงแรกก็คือเพลง โอ้เจ้าสาวชาวไร่ เป็นผลงานประพันธ์ทำนอง คำร้อง
ของครูเหม ยศกร เมื่อปี 2481
          หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ดนตรีที่เป็นเพลงไทยสากล เพลงลูกทุ่ง เริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีสากลเข้ามาบรรเลงและค่อย ๆ
แยก ชัดเจนขึ้น เพลงไทยลูกทุ่งมีองค์ประกอบหลัก ๆ ที่ทำให้มีความน่าสนใจคือมีเรื่องของทำนอง จังหวะ คำร้อง เครื่องดนตรี และ
หางเครื่อง
          เรื่องของทำนองและจังหวะ เพลงลูกทุ่งมีทำนองและจังหวะที่หลากหลายมาก บางเพลงจะดัดแปลงมาจากเพลงไทยเดิม บาง
เพลงมาจากการขับร้องลิเกบางเพลงมาจากเพลงแหล่ เช่น นักร้องเพลงแหล่ที่รู้จักกันดีมี พรภิรมย์ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
ชินกร ไกรลาศ
         เรื่องคำร้อง คำร้องในแง่ของการใช้ภาษา เพลงลูกทุ่งมี 2 รูปแบบ คือ 1. ภาษามาตรฐาน 2. ภาษาชาวบ้านภาษามาตรฐาน คือ
เพลงลูกทุ่งที่กล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับนิทาน ชาดก พุทธประวัติ หรือวรรณคดีของไทย ส่วนภาษาชาวบ้าน คือภาษาพื้น ๆ ที่ชาวบ้านพูดกัน
โดยทั่วไป เป็นภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจโดยเฉพาะในชาวชนบท สาระสำคัญของคำร้อง ส่วนใหญ่เพลงลูกทุ่งจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับ
คุณค่าของสังคมไทยหรือวิถีของชาวบ้านในชนบททั่ว ๆ ไป ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของชาวชนบทที่ส่วนใหญ่จะยังยึดมั่นอยู่
กับขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ศาสนา บุญกรรม และมักจะพูดถึงการทำบุญในเทศกาลต่าง ๆ
          เรื่องของเครื่องดนตรี เพลงไทยลูกทุ่งไม่ได้เล่นด้วยเครื่องดนตรีสากลอย่างเดียวยังใช้เครื่องดนตรีของไทยเข้าไปผสมด้วย
แล้วแต่ว่าเพลงลูกทุ่งเพลงนั้นจะแต่งโดยนักร้องหรือว่านักแต่งเพลงของภาคไหน ถ้าคนแต่งที่เป็นชาวอีสานก็มักจะมีเครื่องดนตรี
ทางภาคอีสานเข้ามาผสม เช่น แคน โปงลาง ถ้าเป็นเพลงทางภาคเหนือก็มี ซึง พิณ ถ้าภาคใต้จะมีกลอง โม่ง ส่วนของภาคกลาง
ค่อนข้างจะเยอะจะมีทั้ง กลองยาว ระนาด ฉิ่ง กรับ โทน บางครั้งก็มี ขลุ่ย เข้ามาด้วย จะเห็นว่าเครื่องดนตรีไม่ใช่เครื่องดนตรีสากล
ล้วนอย่างเดียว สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือหางเครื่อง หางเครื่องจริง ๆ แล้ว เดิมมาจากคำว่า เขย่าหางเครื่อง ก็คือพวกเครื่องเขย่าที่ทำให้
เกิดจังหวะ แรก ๆ ผู้เขย่าหางเครื่องก็มีทั้งหญิง ทั้งชาย ไม่ได้เป็นกลุ่มคณะ พอต่อมาได้มีการพัฒนาโดยเอาผู้หญิงสวย ๆ มาเขย่า
หางเครื่อง ดูน่าสนใจ ซึ่งตอนหลังได้ออกมาเต้นหน้าวง ต่อมาได้มีการพัฒนาจากระบำของฝรั่งพวก modern dance เข้ามาผสม
ด้วย เลยเกิดเป็นหางเครื่องและมีการพัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน วงดนตรีลูกทุ่งถ้าไม่มีหางเครื่องเหมือนจะขาดสีสัน สิ่งนี้คือ
ลักษณะที่ทำให้เพลงลูกทุ่ง มีความน่าสนใจแล้วก็มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ




          ประวัติทางด้านดนตรีของเพลงลูกทุ่งยุคทอง คือยุคของคุณสุรพล สมบัติเจริญ ส่วนใหญ่จะแต่งเพลงร้องเองท่านเริ่มชีวิตการ
ร้องเพลงจากกองดุริยางค์ทหารอากศ เพลงที่ท่านแต่งจะเน้นความสนุกสนาน และชอบใช้พื้นฐานจากเพลงรำวง เช่น เพลงเสียวไส้
กล่าวได้ว่าเป็นช่วงที่เพลงลูกทุ่งพัฒนาไปจนถึงจุดสุดยอด ซึ่งอยู่ในช่วงปีประมาณ 2506 จนถึง 2513 ถือว่าเป็นยุคทอง ยุคนั้นเริ่ม
มีคนดัง เข้ามาในวงการ เช่น พีระ ตรีบุปผา พรภิรมย์ สุชาติ เทียนทองชัย , ชาย เมืองสิงห์ และเพลิน พรหมแดน ช่วงต่อมา เป็นยุค
แห่งการแข่งขันอยู่ในช่วงประมาณปี 2513 – 2515 มีการแข่งขันกันค่อนข้างมากระหว่างเพลงไทยลูกกรุงและเพลงไทยลูกทุ่ง
นักแต่งเพลงพยายามที่จะสร้างเอกลักษณ์ประจำตัวให้นักร้องแต่ละคน นักร้องแต่ละคนนอกจากร้องเพลงแล้วก็เข้ามาสู่บทบาทการ
แสดงภาพยนตร์ มีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งเอาเพลงเข้ามาประกอบแล้วประสบความสำเร็จมากก็คือ เรื่องมนต์รักลูกทุ่ง โดยมี
มิตร ชัยบัญชา นำแสดง เป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จมาก ต่อมามีการสร้างภาพยนตร์โดยนำเอาเพลงลูกทุ่งมาประกอบก็อีก
หลายเรื่อง
          ยุคต่อมา เป็นยุคเพลงเพื่อชีวิตและการเมือง หลังจากวันที่ 14 ตุลาคม 2516 มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเพลงเพื่อชีวิต
ก็เป็นเพลงที่โดดเด่นขึ้นมา ในวงการลูกทุ่งก็เหมือนกัน จะมีการแต่งเพลงทำนองที่เป็นเพลงเพื่อชีวิตเหมือนกันแต่ก็ไม่นานเท่าไหร่
คนที่แต่งเพลงแนวนี้ดัง ๆ ได้แก่ สงเคราะห์ สมรรถพาพงศ์ ส่วนใหญ่เป็นเพลงล้อเลียนการเมือง เสียดสี ขับร้องโดย
คุณเพลิน พรหมแดน อย่างเช่น เพลงกำนันผันเงิน เพลงพรรคกระสอบหาเสียง
          ช่วงต่อมา เกิดวิวัฒนาการใหม่ในเพลงลูกทุ่ง คือ ช่วงปี 2520 – 2528 มีนักร้อง นักดนตรี เกิดขึ้นใหม่จำนวนมาก มีการ
ประกวดประชันกันในเรื่องของหางเครื่องมาก ช่วงนี้มีนักร้องที่เรียกว่าราชินีของเพลงลูกทุ่งก็คือ คุณพุ่มพวง ดวงจันทร์ ซึ่งเป็น
นักร้องที่มาแรงมาก มีการแสดงคอนเสริร์ต เดิมการแสดงดนตรีลูกทุ่งส่วนใหญ่จัดตามงานวัด แต่ของคุณพุ่มพวง มาจัดที่ เซ็นทรัล
พลาซ่า เพลงที่โด่งดังมาก คือเพลงกระแซะ
          มาถึงยุคปัจจุบัน ค่อนข้างจะมีความเป็นธุรกิจสูงขึ้น คือ มีค่ายเพลงใหญ่ไม่ว่าจะเป็น แกรมมี่ อาร์เอส แล้วก็มีค่ายเล็ก ๆ มาก
มาย ยุคนี้มีศิลปินหน้าใหม่เข้ามาสู่วงการเพลงเยอะ มีการเอาเพลงเก่ามาทำใหม่ เช่น คุณจักรพันธ์ (ก๊อต) จะสังเกตได้ว่าเค้าดังจาก
การเอาเพลงเก่ามาร้องใหม่ซึ่งร้องได้ดีมาก และมีบางคนเปลี่ยนแนวมาทำเพลงลูกทุ่ง เช่น คุณทัช ณ ตะกั่วทุ่ง , คุณต้อม เรนโบว์ ,
คุณเทียรี่ เมฆวัฒนา แล้วเพลงลูกทุ่งยุคนี้จะไม่ได้เปิดเฉพาะคลื่น AM แล้ว แต่ขยายเข้ามาในคลื่น FM ซึ่งเป็นคลื่นในเมือง และนี้
คือวิวัฒนาการของเพลงลูกทุ่งในแต่ละยุค

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

รวมลิงค์ TAG เพลงลูกทุ่งรับเดือนแห่งความรัก ^*^^*^

^*^^*^รวมลิงค์ TAG เพลงลูกทุ่งรับเดือนแห่งความรัก ^*^^*^

โพสต์เมื่อวันที่ : IP : เปิดอ่าน : 2499 / 2 ความเห็น
คะแนนของ BLOG นี้ 
(40.00%-5 ผู้โหวต)

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
.....

+++++++++++++++

น้ำลงเดือนยี่ - ลูกเสือหมายเลข9
http://www.oknation.net/blog/chainews/2010/01/25/entry-1

เพลงรักของพุ่มพวง - รวงข้าวล้อลม
http://www.oknation.net/blog/roungkaw/2010/01/25/entry-3

ขี้เหร่ก็รัก - tengpong
http://www.oknation.net/blog/tengpong/2010/01/26/entry-1
รักแม่หม้าย - มะอึก
http://www.oknation.net/blog/panakom/2010/01/26/entry-4
หิ่งห้อยกับตะวัน - MT-PONG
http://www.oknation.net/blog/NICHAKHAN/2010/01/26/entry-2
เปิดใจสาวแต - มัชฌิมาปกร
http://www.oknation.net/blog/kintaro/2010/01/26/entry-1
แด่คนชื่อเจี๊ยบ - soonthorn
http://www.oknation.net/blog/soonthorn-filmkayab/2010/01/26/entry-2
รักเธอเท่าฟ้า-มนต์เสียงเพลง
http://www.oknation.net/blog/magicsoundsong/2010/01/21/entry-1
สาวเพชรบุรี-ภาษาไทย
http://www.oknation.net/blog/snowy/2010/01/26/entry-1
น้ำลงนกร้อง - Bluehill
http://www.oknation.net/blog/charlee/2010/01/26/entry-2
ตังเก -นีโอ
http://www.oknation.net/blog/neozone/2010/01/26/entry-1
ร้องไห้กับเดือน - สิงห์มือซ้าย
http://www.oknation.net/blog/SingMeuSai/2010/01/26/entry-2
กระท่อมกัญชา - จักรวาล
http://www.oknation.net/blog/sawitkhaenkhan/2010/01/26/entry-1
สุขกันเถอะเรา - มิตรภาพไร้พรมแดน
ไม่ใช่แฟนทำแทนไม่ได้ - luerat
http://www.oknation.net/blog/hrd/2010/01/27/entry-3
รักเก่าที่บ้านเกิด - นายหัวไทร
http://www.oknation.net/blog/naiman/2010/01/27/entry-1
สนุกเกอร์ - เม็ดดิน
http://www.oknation.net/blog/iaun/2010/01/27/entry-1
บ้านเรือนเคียงกัน - ครูทิพย์
http://www.oknation.net/blog/Tip2/2010/01/27/entry-1
สาวนาสั่งแฟน - redribbons07
http://www.oknation.net/blog/redribbons07/2010/01/27/entry-2
ชมทุ่ง -คนช่างเล่า
http://www.oknation.net/blog/nukpan/2010/01/27/entry-1
ค่าน้ำนม - singlemom99
http://www.oknation.net/blog/MotherandSon/2010/01/27/entry-1
ท้ารัก -ดินเดินทาง
http://www.oknation.net/blog/j-din/2010/01/27/entry-1
เหนื่อยไหมคนดี - พิมญดา
http://www.oknation.net/blog/pimydanarak/2010/01/27/entry-1
คนร่วมชายคา - ตะวันแดง
http://www.oknation.net/blog/tawan642/2010/01/27/entry-1
ผู้ยิ่งใหญ่ - ปรัตยา
http://www.oknation.net/blog/chief-dan/2010/01/27/entry-1
ปรารถนา - กอบธรรม
http://www.oknation.net/blog/anakkumlangbai/2010/01/27/entry-1
จะขอก็รีบขอ - bomza
http://www.oknation.net/blog/bomza/2010/01/27/entry-2
เปาบุ้นจิ้นเผาศาล - ไอลี่
http://www.oknation.net/blog/ilyy/2010/01/27/entry-1
พี่ไม่มีแฟน - นามสมมติ
http://www.oknation.net/blog/zaalang/2010/01/27/entry-2


แผลเป็นวันวาเลนไทน์ - สาวอีสานอินเตอร์
http://www.oknation.net/blog/spj/2010/01/27/entry-1
มีเธอจึงมีฝัน - นกบนท้องฟ้า
http://www.oknation.net/blog/benjama/2010/01/27/entry-1
แทนความคิดถึง - chompoopookha
http://www.oknation.net/blog/chompoopookha/2010/01/27/entry-2
ฉันทนาที่รัก - กวีจร_ณ_โคราชา
http://www.oknation.net/blog/kaweejorn/2010/01/27/entry-1
รักข้ามโขง - nangrong
http://www.oknation.net/blog/nangrong/2010/01/27/entry-2
จดหมายเป็นหมัน - หน่อผุด
http://www.oknation.net/blog/korpai/2010/01/27/entry-1
อะไรจะเกิดมันก็เกิด - SweetyWana
http://www.oknation.net/blog/sweetywana/2010/01/27/entry-1
สาวมอญคนสวย - SHIW
http://www.oknation.net/blog/Pasinee/2010/01/27/entry-1
พ่อพี่ไม่ได้เป็นนายก - KOPPIE
http://www.oknation.net/blog/koppie/2010/01/27/entry-1
คืนนี้เมื่อปีกลาย - loongmoo
http://www.oknation.net/blog/ya-ma-rach-cho/2010/01/27/entry-1
ยอยศพระลอ - Cat@
http://www.oknation.net/blog/catadler/2010/01/27/entry-1
มนต์รักแม่กลอง -  วรรณ
http://www.oknation.net/blog/wunwarinya07/2010/01/27/entry-1
สาวฝั่งโขง - เพลงกระบี่ฯ
http://www.oknation.net/blog/plaengkrabi/2010/01/27/entry-1

ขอขอบคุณ เว็บไซต์ .


วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความหมายของเพลงลูกทุ่ง


ความหมายของเพลงลูกทุ่ง

 
เพลงลูกทุ่ง คือเพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศ ความเป็นลูกทุ่ง ขุนวิจิตรมาตราบันทึกไว้ในหนังสือเรื่องของละครและเพลง ว่าเพลงลูกทุ่งเป็นวงดนตรีแบบสากลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปีหรือสองปี ลักษณะเพลงลูกทุ่งในระยะเริ่มแรก มาจากการร้องรำทำเพลงของไทยดั้งเดิม อาทิ แหล่เทศน์ สวดคฤหัสถ์ จำอวด ลิเก (ทรงเครื่อง) ลิเกลูกหมด (ไม่แต่งเครื่อง) ลิเกบันตน ลำตัด เพลงขอทาน เพลงพื้นเมืองบางเพลง ฯลฯ โดยเพลงลูกทุ่งนำมาดัดแปลงแล้วใส่ดนตรีแบบสากล เป็นลักษณะเพลงแบบใหม่
 
ส่วนคำว่า "เพลงลูกทุ่ง" อาจารย์จำนง รังสิกุล คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 เพลงลูกทุ่งมีความชัดเจนจากเพลงลูกกรุงโดยประกอบ ไชยพิพัฒน์ จัดรายการเพลงสถานีไทย โทรทัศน์ ใช้ชื่อรายการว่า "เพลงลูกทุ่ง" สุรพล สมบัติเจริญ ได้ทำให้เพลงลูกทุ่งอยู่ในความนิยม ในช่วงปี พ.ศ. 2506 –2513 จนเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของเพลงลูกทุ่ง ได้เกิดการแข่งขัน และยังมีนักร้องลูกทุ่งเกิดขึ้นใหม่หลายคน ต่อมาหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เพลงลูกทุ่งก็อยู่ในยุคเพลงเพื่อชีวิต เนื้อหาเพลงลูกทุ่ง ได้สอดแทรกเนื้อหาเพลงเพื่อชีวิต โดยในยุคนั้นมีเพลงลูกทุ่งเพื่อชีวิตเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้น ระหว่าง พ.ศ. 2520–2528 วงดนตรีเพลงลูกทุ่งได้เข้าสู่ระบบทุนมากขึ้น มีการแสดงเพลงลูกทุ่งมีการประกวดประชันการเต้นและเครื่องแต่งกายของหางเครื่องประกอบ จนในปัจจุบัน มีศิลปินลูกทุ่งหน้าใหม่เข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งของค่ายเพลงหน้าใหม่ ตลาดเพลงลูกทุ่งเป็นตลาดใหญ่ เพลงลูกทุ่งได้รับความนิยมอีกครั้ง และมีการมอบรางวัลทางดนตรีลูกทุ่งอยู่หลายรางวัล  
ขุนวิจิตรมาตราบันทึกไว้ในหนังสือเรื่องของละครและเพลง ว่าเพลงลูกทุ่งเป็นวงดนตรีแบบสากลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปีหรือสองปี ลักษณะเพลงลูกทุ่งในระยะเริ่มแรก มาจากการร้องรำทำเพลงของไทยดั้งเดิม อาทิ แหล่เทศน์ สวดคฤหัสถ์ จำอวด ลิเก (ทรงเครื่อง) ลิเกลูกหมด (ไม่แต่งเครื่อง) ลิเกบันตน ลำตัด เพลงขอทาน เพลงพื้นเมืองบางเพลง ฯลฯ โดยเพลงลูกทุ่งนำมาดัดแปลงแล้วใส่ดนตรีแบบสากล เป็นลักษณะเพลงแบบใหม่

วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เพลงลูกทุ่งต่างๆ


องค์ประกอบของเพลงลูกทุ่ง


ทำนองและจังหวะ

มี เพลงลูกทุ่งหลายเพลงได้ดัดแปลงจากเพลงไทยเดิม ยังคงทำนองเดิมแต่ตัดการเอื้อนแบบเพลงไทยเดิมออกและใส่คำร้องลงไปแทนที่ ส่วนทำนองก็มาจากเพลงพื้นบ้าน พื้นเมืองของทุก ๆ ภาค อย่างภาคกลางใช้ทำนองเพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงลำตัด เพลงกลองยาว เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว ฯลฯ ภาคอีสานจะใช้ทำนองเพลงลำหรือหมอลำและเซิ้ง ทำนองลำที่นิยมในเพลงลูกทุ่ง ได้แก่ ลำเต้ย ลำเพลิน ลำสารวัน ส่วนทำนองเพลงเซิ้งนิยมเป็นเซิ้งบ้องไฟ
เพลงลูกทุ่งมักมีการนำ ทำนองจากการขับร้องลิเกและทำนองเพลงแหล่มาใช้ การใช้ทำนองเพลงลิเกซึ่งเป็นมหรสพพื้นบ้านโบราณของไทยมักไม่ใช้ทำนองเพลง ลิเกโดด ๆ แต่จะนำมาผสมผสานกับทำนองเพลงสากลด้วย ส่วนทำนองเพลงแหล่ ที่เป็นการแสดงธรรมเทศนา เพลงลูกทุ่งนำมาใช้ในสองลักษณะ คือ ใช้ทำนองเพลงแหล่ตลอดทั้งเพลง และใช้ทำนองแหล่ผสมกับทำนองลิเกหรือกับทำนองเพลงสากล สำหรับนักร้องเพลงลูกทุ่งที่ร้องเพลงทำนองแหล่ที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ พร ภิรมย์ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ และชินกร ไกรลาศ และหลังจากที่พร ภิรมย์ เข้าสู่สมณเพศแล้วก็คงเหลือแต่ไวพจน์และชินกรเท่านั้นที่มีชื่อเสียงในการ ร้องเพลงทำนองแหล่มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งทั้งสองท่านมีชื่อเสียงด้านทำขวัญนาคอีกด้วย
การโห่ เป็นลักษณะอีกประการหนึ่งที่พบได้บ่อยครั้ง มีสองลักษณะคือ การโห่แบบไทยและการโห่แบบตะวันตก การโห่แบบไทยปรากฏในเพลงที่มีเนื้อหากล่าวถึงการบวชนาค การแห่ขันหมาก คือเป็นการโห่ประกอบขบวน จะร้องว่า “โห่……. (ฮิ้ว) ” และอาจพบในเพลงที่เอ่ยถึงการแห่วงดนตรีด้วย เช่น รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ร้องโห่ในเพลง “ยกพลรุ่งเพชร”
“โห่โดรีโฮ” การโห่แบบนี้ในเพลงลูกทุ่งแสดงถึงอิทธิพลจากเพลงลูกทุ่งตะวันตก คือมีลักษณะการโห่ การผิวปาก และการกู่ตะโกน แบบหนุ่มโคบาลหรือคาวบอยในทุ่งหญ้า เพลงลูกทุ่งไทยที่ใช้การโห่แบบตะวันตกนี้ มักพรรณนาชื่นชมบรรยากาศความงามและความสงบของธรรมชาติท้องทุ่งเช่นเดียวกัน สร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน
ยังมีผู้แต่งเพลงลูกทุ่งบางท่านนำเอาทำนอง เพลงต่างชาติเข้ามาเป็นส่วนประกอบในเพลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำนองเพลงของชาติในเอเซียที่เกี่ยวข้องหรือคุ้นเคยกับคน ไทย เช่น จีน อินเดีย ลาว ญี่ปุ่น เกาหลี
คำร้อง
ในแง่การ ใช้ภาษา ภาษาที่ใช้ในเพลงลูกทุ่งมีสองรูปแบบคือภาษามาตรฐานและภาษาชาวบ้าน ภาษามาตรฐานมักจะใช้กับเพลงลูกทุ่งที่กล่าวถึงเรื่องราวนิทานชาดก นิทานเกี่ยวกับพุทธประวัติ ตลอดจนวรรณคดีลายลักษณ์ของไทย เช่น อิเหนา รามเกียรติ์ กากี พระลอ ฯลฯ ที่มีลักษณะคำร้อยกรอง มีความงดงามของภาษา นอกจากนี้เพลงลูกทุ่งที่ใช้ภาษาใช้ภาษาหนังสือตามแบบแผน จะพรรณาชมธรรมชาติ ชีวิตอันสุขสงบในชนบท ความรักของหนุ่มสาว ความงามของสาว







เพลง ลูกทุ่งโดยส่วนมากจะใช้ภาษาชาวบ้าน ภาษาที่ใช้ในเพลงลูกทุ่งจึงเป็นภาษาพื้น ๆ แบบชาวบ้านทั่วไป ง่ายต่อการเข้าใจ สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของชาวชนบท เนื่องจากผู้ที่ฟังเพลงลูกทุ่งมักเป็นชาวบ้านและชาวชนบท กอปรทั้งผู้แต่งเพลงลูกทุ่งส่วนใหญ่มักมีพื้นเพมาจากชนบท มีการศึกษาน้อย
การ ร้องเพลงลูกทุ่งบางเพลงยังใช้คำร้องและศัพท์สำนวนที่เป็นของท้องถิ่น เช่น สำเนียงสุพรรณบุรี และสำเนียงถิ่นภาคต่าง ๆ อย่าง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสานอีกด้วย การขับร้องด้วยสำเนียงถิ่นต่าง ๆ นี้เป็นลักษณะเฉพาะของเพลงลูกทุ่ง เมื่อเทียบกับเพลงลูกกรุง กล่าวคือนักร้องเพลงลูกกรุงจะออกเสียงให้ตรงตามวรรณยุกต์ของภาษามาตรฐาน ส่วนนักร้องเพลงลูกทุ่งมักออกเสียงเพี้ยนไปจากเสียงวรรณยุกต์ของภาษามาตรฐาน และนักร้องบางคนยังมีสำเนียงที่ติดมากับตัว มีทั้งเจตนาที่จะเพี้ยนเสียงเพื่อสร้างความรู้สึกให้เป็นชนบทถิ่นนั้น ๆ ตามที่ต้องการ นักร้องเพลงลูกทุ่งที่มีการร้องแบบเพี้ยนสำเนียง เช่น ชาย เมืองสิงห์ รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ศรคีรี ศรีประจวบ ศรเพชร ศรสุพรรณ สายัณห์ สัญญา จีระพันธ์ วีระพงษ์ ฯลฯ เป็นต้น
ส่วนสาระของคำร้องในเพลง ลูกทุ่งนั้นมีคุณค่าเกี่ยวกับสังคมไทยและวิถีชีวิตของชาวชนบทไทยอย่างกว้าง ขวาง เพลงลูกทุ่งสะท้อนให้เห็นความผูกพันอันแนบแน่นของชาวชนบทกับขนบธรรมเนียม ประเพณี ความยึดมั่นในพุทธศาสนา และความเชื่อเรื่องบุญกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีรวมที่เพลงลูกทุ่งกล่าวถึง ได้แก่ สงกรานต์ เข้าพรรษา การอุปสมบท ออกพรรษา การทอดกฐิน การทอดผ้าป่า ลอยกระทง การหมั้น การแต่งงาน ตลอดจนงานศพ ส่วนขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่ง ได้แก่ การถวายขวัญข้าว การเล่นเพลงพื้นบ้าน การเล่นกลองยาว งานบุญพระเวศ บุญบั้งไฟ งานชักพร
นอกจากสะท้อนถึงสังคมไทยและวิถีชีวิตยังมี เนื้อหาบรรยายถึงสภาพแวดล้อมธรรมชาติของชนบทไทย การประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ท้องทุ่ง ไร่นา แม่น้ำ ต้นไม้ สัตว์ต่าง ๆ ตลอดจนสายลม แสงแดด แสงจันทร์ ดวงดาว ฯลฯ ประชากรที่กล่าวถึงในเพลงมักเป็นชาวชนบทหรือไม่ก็คนยาก คนจน บรรยายถึงความรัก การประกอบอาชีพ ลักษณะบ้านเรือนที่อยู่อาศัย การแต่งกาย การบริโภคอาหาร สิ่งบันเทิง และในบางครั้งเพลงลูกทุ่งสะท้อนถึงระบบความเชื่อและระบบค่









ยุคทองของเพลงลูกทุ่ง


สุรพล สมบัติเจริญ ได้ทำให้เพลงลูกทุ่งอยู่ในความนิยม ด้วยเอกลักษณ์ ลีลา และ รูปแบบเฉพาะตัว อีกทั้งยังแต่งเพลงร้องเองเป็นส่วนใหญ่ เขาเริ่มชีวิตการร้องเพลงจากกองดุริยางค์ทหารอากาศ สุรพลชอบใช้เพลงจังหวะรำวงในเพลงที่เขาแต่ง ผลงานเพลงของเขามีลีลาสนุกสนานครึกครื้นเป็นส่วนใหญ่ เช่น เพลงเสียวไส้ เพลงของปลอม ฯลฯ
ยุคของสุรพล สมบัติเจริญ อาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เพลงลูกทุ่งพัฒนามาถึงจุดสุดยอด เป็นยุคทองของเพลงลูกทุ่ง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2506 –2513 ในช่วงนี้ สุรพล สมบัติเจริญ ได้ออกผลงานเพลงลูกทุ่งออกมาเป็นจำนวนมากมาย นักแต่งเพลงรุ่นนี้สืบทอดการแต่งเพลงมาจากครูเพลงในยุคต้น ตัวอย่างเช่นพีระ ตรีบุปผา เป็นศิษย์ของสมยศ ทัศนพันธ์ ส่วนศิษย์ของวงดนตรีจุฬารัตน์ ได้แก่ พร ภิรมย์ สุชาติ เทียนทอง และชาย เมืองสิงห์ นักแต่งเพลงที่สำคัญท่านอื่น ๆ อาทิ เพลิน พรหมแดน จิ๋ว พิจิตร สำเนียง ม่วงทอง ฉลอง การะเกด ชาญชัย บัวบังศรี สมเสียร พานทอง ฯลฯ
เจน ภพ จบกระบวนวรรณ กล่าวไว้ในหนังสือ ดวลเพลงลูกทุ่ง ว่า “เพลงลูกทุ่งเฟื่องฟูสุดขีดในยุคสมัยของครูสุรพล สมบัติเจริญ (ประมาณปี 2504-2511) และหลังจากครูสุรพลถูกลอบยิงตายในขณะที่ชื่อเสียงกำลังเกรียงไกร หลังจากนั้นเพลงลูกทุ่งก็พุ่งขึ้นสู่ความนิยมชมชอบของผู้คนทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นชนบทหรือในเมือง”
และยังมีนักร้องลูกทุ่งเกิดขึ้นใหม่ หลายคน นักร้องเด่นของยุคนี้ได้แก่ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เพลิน พรหมแดน พร ภิรมย์ ชาย เมืองสิงห์ ศรคีรี ศรีประจวบ ก้าน แก้วสุพรรณ ไพรวัลย์ ลูกเพชร ผ่องศรี วรนุช สุชาติ เทียนทอง ฯลฯ
ยุคแห่งการแข่งขัน
ใน ช่วงปี พ.ศ. 2513–2515 ในวงการเพลงลูกทุ่งเองก็มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ทั้งยังเกิดการแข่งขันระหว่างเพลงลูกกรุงและเพลงลูกทุ่งสูง นักแต่งเพลงพยายามสร้างเอกลักษณ์ประจำตัวของนักร้องแต่ละคน มีนักร้องเพลงลูกทุ่งบางคนได้สู่บทบาทการแสดงภาพยนตร์ บางคนถึงแสดงเป็นตัวเอกโดยเฉพาะในภาพยนตร์เพลง ภาพยนตร์บางเรื่องนำเพลงลูกทุ่งมาประกอบเป็นเพลงเอก อย่างเช่นเรื่องมนต์รักลูกทุ่ง ประสบความสำเร็จ ทำรายได้เป็นอย่างดี นำแสดงโดยพระเอกขวัญใจในยุคนั้นคือ มิตร ชัยบัญชา เพลงเอกชื่อเดียวกับภาพยนตร์ประพันธ์โดย ไพบูลย์ บุตรขัน ภาพยนตร์เรื่องนี้มีนักร้องเพลงลูกทุ่งร่วมแสดงด้วย ได้แก่ บุปผา สายชล โดยขับร้องเพลงดังในภาพยนตร์ชื่อ ยมพบาลเจ้าขา
เมื่อภาพยนตร์ เรื่องมนต์รักลูกทุ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ทำให้มีการสร้างภาพยนตร์โดยมีการแสดงเพลงลูกทุ่งประกอบอีกหลายเรื่องใน ลักษณะเดียวกัน อาจเรียกได้ว่าเป็น “ยุคของภาพยนตร์เพลงลูกทุ่ง” นักร้องที่เกิดจากภาพยนตร์แนวนี้และโด่งดังในวงการเพลงลูกทุ่งต่อมา ได้แก่ สังข์ทอง สีใส โดยเป็นผู้ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง โทน และแสดงคู่กับพระเอกไชยา สุริยัน นักร้องคนอื่น เช่น ระพิน ภูไท เสกศักดิ์ ภู่กันทอง ศรคีรี ศรีประจวบ สมัย อ่อนวงศ์ พนม นพพร ยุพิน แพรทอง ชาตรี ศรีชล กาเหว่า เสียงทอง กังวานไพร ลูกเพชร ฯลฯ และยังสร้างนักแต่งเพลงให้ประสบความสำเร็จในช่วงนี้ อาทิ กานท์ การุณวงศ์ ฉลอง ภู่สว่าง ช. คำชะอี พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา สุรินทร์ ภาคศิริ ฯลฯ
วง การดนตรีลูกทุ่งมีการประชันขันแข่งสูงมาก ซอยบุปผาสวรรค์เริ่มกลายมาเป็นชุมชนคนลูกทุ่งในช่วงนี้เองหลังจาก เพลิน พรหมแดน ย้ายเข้ามาอยู่เป็นคนแรกเมื่อปี 2512
เพลงลูกทุ่งยุคเพลงเพื่อชีวิตและการเมือง
หลัง เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง ในวงการเพลงเกิดวงดนตรีแนวที่เรียกว่า “เพลงเพื่อชีวิต” ส่วนเพลงลูกทุ่งก็อยู่ในยุคเพลงเพื่อชีวิตเช่นกัน เนื้อหาเพลงลูกทุ่ง ได้สอดแทรกเนื้อหาเพลงเพื่อชีวิต โดยในยุคนั้นมีเพลงลูกทุ่งเพื่อชีวิตเป็นจำนวนมาก นักร้องเพลงลูกทุ่งมักกล่าวถึงชีวิตชนบทและความยากจนค่นแค้นอยู่แล้ว เนื้อหาจะเน้นปัญหาชาวไร่ชาวนาและกรรมกรให้โดดเด่นมากยิ่งขึ้น เพลงลูกทุ่งในยุคนั้นเช่น เพลงข้าวไม่มีขาย หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน เสียนาเสียนาง เราคนจน โอ้ชาวนา ฯลฯ

ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2516–2519 ได้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ในวงการเพลงลูกทุ่ง คือ การร้องเพลงล้อเลียนการเมือง เพลงเหล่านี้มักเป็นการร้องเพลงลูกทุ่งผสมบทพูด แฝงแง่คิดหรือการวิพากษ์วิจารณ์ไว้อย่างคมคาย และสร้างความบันเทิงขำขันให้แก่ผู้ฟัง ผู้ที่แต่งเพลงแนวนี้ไว้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ สงเคราะห์ สมัตถภาพงษ์ ซึ่งส่วนใหญ่ขับร้องโดย เพลิน พรหมแดน ตัวอย่างเช่น เพลงกำนันผันเงิน พรรกระสอบหาเสียง ฯลฯ นักแต่งเพลงท่านอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จสูงในยุคนี้ได้แก่ ชลธี ธารทอง ธงชัย เล็กกำพล โผผิน พรสุพรรณ สดใส ร่มโพธิ์ทอง กู้เกียรติ นครสวรรค์

นักแต่งเพลงส่วน ใหญ่จะแต่งเพลงส่วนใหญ่ให้กับนักร้องเป็นรายบุคคลไป ส่วนนักร้องมักมีวงดนตรีของตนเอง ตลอดจนผลิตแผ่นเสียงหรือบันทึกเทปจำหน่ายเอง นักร้องที่มีชื่อเสียงในช่วงนี้ได้แก่ สายัณห์ สัญญา ศรเพชร ศรสุพรรณ สัญญา พรนารายณ์ บานเย็น รากแก่น น้ำอ้อย พรวิเชียร ฯลฯ เป็นต้น
หลัง เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เพลงลูกทุ่งแนวเพื่อชีวิตก็ซาลง บทเพลงมีเนื้อหากลับมาบรรยายเรื่องของความรัก ความเศร้า และความงามของสาวชาวไร่ชาวนาเช่นเดิม เช่น เพลงรักสาวชาวไร่ น้ำตาชายเหนือ สิ้นทางรัก ฯลฯ และยิ่งเมื่อเศรษฐกิจพัฒนารุดหน้ามากขึ้น ก่อให้เกิดการย้ายถิ่นฐานประกอบอาชีพของชาวชนบทเข้าสู่เมืองหลวง บทเพลงลูกทุ่งสะท้อนชีวิตและปัญหาของบุคคลเหล่านี้ซึ่งประกอบอาชีพเป็นสาว ใช้ สาวบาร์ หมอนวด กรรมกร ลูกจ้าง ตลอดจนไปขายแรงงานในกลุ่มประเทศอาหรับ เช่น เพลงฉันทนาที่รัก พาร์ทเนอร์เบอร์ห้า สาวโรงทอรอรัก หนุ่มกระเป๋า ไอ้หนุ่มรถตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ
ปรากฏการณ์ใหม่ในวิวัฒนาการของเพลงลูกทุ่ง
ใน ช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2520–2528 วงการเพลงลูกทุ่งและลูกกรุงได้กำเนิด นักร้องเป็นจำนวนมาก วงดนตรีเพลงลูกทุ่งได้เข้าสู่ระบบทุนมากขึ้น มีการแสดงเพลงลูกทุ่งมีการประกวดประชันการเต้นและเครื่องแต่งกายของหาง เครื่องประกอบด้วย นักแต่งเพลงแนวลูกทุ่งในช่วงเวลานี้ เช่น ชลธี ธารทอง ฉลอง ภู่สว่าง คัมภีร์ แสงทองวิเชียร คำเจริญ ชัยพร เมืองสุพรรณ สุชาติ เทียนทอง ชวนชัย ฉิมพะวงศ์ ดอย อินทนนท์ ดาว บ้านดอน ฯลฯ
นักร้อง ชายที่อยู่ในความนิยม เช่น สายัณห์ สัญญา เกรียงไกร กรุงสยาม สุรชัย สมบัติเจริญ ยอดรัก สลักใจ ศรชัย เมฆวิเชียร ศรเพชร ศรสุพรรณ พร ไพรสณฑ์ ฯลฯ
นักร้องเพลงลูกทุ่งหญิงที่ได้รับการขนานนามว่าราชินีลูกทุ่งใน ยุคนี้คือ พุ่มพวง ดวงจันทร์ นักร้องหญิงที่ได้รับความนิยมนอกจากพุ่มพวงได้แก่ นันทิดา แก้วบัวสาย ดาวใต้ เมืองตรัง หงษ์ทอง ดาวอุดร สดศรี พรหมเสกสรร อ้อยทิพย์ ปัญญาธรณ์ ฯลฯ
ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา เกิดแฟชั่นการแสดงคอนเสิร์ตของนักร้องแนวสตริง ซึ่งเป็นผลให้มีการแสดงคอนเสิร์ตขึ้นในวงการเพลงลูกทุ่งด้วย พุ่มพวง ดวงจันทร์ ได้จัดการแสดงคอนเสิร์ตได้รับความนิยมอย่างสูง จัดขึ้นประมาณกลางปี พ.ศ. 2529 ที่เซ็นทรัลพลาซ่า ในขณะที่เพลง กระแซะ ของเธอมีความโด่งดังอย่างมาก
ในช่วงปี 2531-2535 เป็นช่วงที่ซบเซาสำหรับวงการเพลงลูกทุ่ง เพราะช่วงนี้เพลงสตริงสมัยใหม่ และวัฒนธรรมทางดนตรีจากต่างชาติ เข้าหลั่งไหลทะลักมา ทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ ๆ สำหรับวงการเพลงสตริง แต่เพลงลูกทุ่ง กลับไม่ค่อยมีอะไรใหม่ ๆ จนกระทั่ง มีบทเพลง ๆ หนึ่ง ที่ทำให้ลูกทุ่งฟื้นคืนชีพใหม่ และสง่างามมาได้คือ “สมศรี 1992″ ของ “ยิ่งยง ยอดบัวงาม” เลยเกิดกระแสเพลงลูกทุ่งลุกฮือขึ้นมาอีกครั้ง ในปี 2535 และช่วงเวลาเดียวกัน ก็เกิดเพลงผสมผสาน ลูกทุ่ง+สตริง มาในสมัยนี้ แต่เรียกเพลงสไตล์นี้ว่า “เพลงร่วมสมัย” เพราะยังติดคำร้องลูกทุ่ง แต่ทำนอง และดนตรี จะออกเหมือนเพลงจีน ๆ คำร้อง สไตล์เมียน้อย เมียเก็บ เช่นเพลง “ทางใหม่” ของ “นิตยา บุญสูงเนิน” แต่ดูโดยรวมลักษณะ ก็ไม่ใช่เพลงลูกทุ่ง และไม่ใช่เพลงสตริงวัยรุ่น และปี 2538-2542 เพลงลูกทุ่ง เริ่มมีการผสมผสานหลากหลายมากขึ้น จนสไตล์ แท้ ๆ แบบลูกทุ่งชาวบ้าน แทบเลือนหายไป
เพลงลูกทุ่งในปัจจุบัน
ใน ปัจจุบัน ตั้งแต่ปี 2541 มีศิลปินลูกทุ่งหน้าใหม่เข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งของค่ายเพลงหน้าใหม่ ตลาดเพลงลูกทุ่งเป็นตลาดใหญ่ เพลงลูกทุ่งได้รับความนิยมอีกครั้ง เนื่องมาจาก ได้มีการทำละครมนต์รักลูกทุ่งของอาร์เอส และฮิตติดตลาด ต่อมากับการกลับเข้ามาแจ้งเกิดของ ก๊อด จักรพรรณ์ อาบครบุรี กับอัลบั้มเพลงที่นำเพลงเก่ามาทำใหม่ เพลงลูกทุ่งชุดสองที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มนักฟังเพลงรุ่นใหม่ในกรุงเทพฯ และการเกิดขึ้นของเพลงลูกทุ่งในคลื่นเอฟเอ็ม นำทีมบริหารโดย วิทยา ศุภพรโอภาส นอกจากนี้ยังมีศิลปินแนวสตริงและแนวเพื่อชีวิตหลายคนที่หันมาทำเพลงลูกทุ่ง ทดแทนการอิ่มตัวที่จะสามารถอยู่ในวงการอย่าง ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง ต้อม เรนโบว์ เทียรี่ เมฆวัฒนา เป็นต้น
ในยุคก่อนเพลงลูกทุ่งจะเปิด เฉพาะในคลื่นเอเอ็มเท่านั้น ในปัจจุบันทีวีก็เริ่มเปิดกว้างมากขึ้น เกมโชว์เอานักร้องเพลงลูกทุ่งไปเล่น ภาพยนตร์ ละครเอาลูกทุ่งไปเล่น และกลายเป็นธุรกิจกลุ่มใหญ่ขึ้น
ครูเพลงบางคนถึงกับกล่าวว่า เพลงลูกทุ่งในสมัยนี้ไม่เหมือนเดิม เพราะขาดเอกลักษณ์ของการขึ้นต้น เรื่องราวตรงกลาง และตอนจบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดสัมผัสนอก-ใน ตลอดจนการเปรียบเทียบ ส่วนเนื้อหาของเพลงไปทางล้ำเส้นศีลธรรม เพลงในทำนองนี้อย่างเช่นเพลง “เด็กมันยั่ว” ของยอดรัก “อกหักซ้ำเฒ่า” ของ ไกรสร เรืองศรี “เรียกพี่ได้ไหม” ของ เสรีย์ รุ่งสว่าง

ประวัติเพลงลูกทุ่ง


ประวัติความเป็นมา เพลงลูกทุ่ง

เพลงลูกทุ่ง คือเพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต

เพลงลูกทุ่ง คือเพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศ ความเป็นลูกทุ่ง
ขุนวิจิตรมาตราบันทึกไว้ในหนังสือเรื่องของละคร และเพลง ว่าเพลงลูกทุ่งเป็นวงดนตรีแบบสากลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้ง ที่ 2 ประมาณปีหรือสองปี ลักษณะเพลงลูกทุ่งในระยะเริ่มแรก มาจากการร้องรำทำเพลงของไทยดั้งเดิม อาทิ แหล่เทศน์ สวดคฤหัสถ์ จำอวด ลิเก (ทรงเครื่อง) ลิเกลูกหมด (ไม่แต่งเครื่อง) ลิเกบันตน ลำตัด เพลงขอทาน เพลงพื้นเมืองบางเพลง ฯลฯ โดยเพลงลูกทุ่งนำมาดัดแปลงแล้วใส่ดนตรีแบบสากล เป็นลักษณะเพลงแบบใหม่








ส่วนคำว่า “เพลงลูกทุ่ง” อาจารย์จำนง รังสิกุล คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 เพลงลูกทุ่งมีความชัดเจนจากเพลงลูกกรุงโดยประกอบ ไชยพิพัฒน์ จัดรายการเพลงสถานีไทย โทรทัศน์ ใช้ชื่อรายการว่า “เพลงลูกทุ่ง”
สุ รพล สมบัติเจริญ ได้ทำให้เพลงลูกทุ่งอยู่ในความนิยม ในช่วงปี พ.ศ. 2506 –2513 จนเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของเพลงลูกทุ่ง ได้เกิดการแข่งขัน และยังมีนักร้องลูกทุ่งเกิดขึ้นใหม่หลายคน ต่อมาหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เพลงลูกทุ่งก็อยู่ในยุคเพลงเพื่อชีวิต เนื้อหาเพลงลูกทุ่ง ได้สอดแทรกเนื้อหาเพลงเพื่อชีวิต โดยในยุคนั้นมีเพลงลูกทุ่งเพื่อชีวิตเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้น ระหว่าง พ.ศ. 2520–2528 วงดนตรีเพลงลูกทุ่งได้เข้าสู่ระบบทุนมากขึ้น มีการแสดงเพลงลูกทุ่งมีการประกวดประชันการเต้น และเครื่องแต่งกายของหาง เครื่องประกอบ จนในปัจจุบัน มีศิลปินลูกทุ่งหน้าใหม่เข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งของค่ายเพลงหน้าใหม่ ตลาดเพลงลูกทุ่งเป็นตลาดใหญ่ เพลงลูกทุ่งได้รับความนิยมอีกครั้ง และมีการมอบรางวัลทางดนตรีลูกทุ่งอยู่หลายรางวัล

สำหรับธุรกิจเพลง ลูกทุ่งในปัจจุบันถือเป็นตลาดใหญ่ มีทั้งค่ายเล็ก ค่ายใหญ่ เป็นจำนวนมาก โดยสัดส่วนของเงินในตลาดเพลงลูกทุ่งครอง คาดการณ์น่าจะอยู่ที่ ปีละ 1,000-1,500 ล้านบาท โดยมีตลาดหลักอยู่ที่ภาคอีสาน 50% ภาคเหนือและภาคกลาง 35% และภาคใต้ 15% และสัดส่วนการแบ่งตลาด มีแกรมมี่ โกลด์ ครองส่วนแบ่งการตลาดเพลงลูกทุ่งทั่วประเทศ 65% ส่วนอาร์สยาม 19% และอื่นๆ 16% ซึ่งธุรกิจเพลงลูกทุ่งได้ขยายไปสู่ธุรกิจใกล้เคียงอย่างสื่อวิทยุ โทรทัศน์และภาพยนตร์
ประวัติความเป็นมาของเพลงลูกทุ่ง
ขุน วิจิตรมาตราบันทึกไว้ในหนังสือเรื่องของละครและเพลง ว่าเพลงลูกทุ่งเป็นวงดนตรีแบบสากลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้ง ที่ 2 ประมาณปีหรือสองปี ลักษณะเพลงลูกทุ่งในระยะเริ่มแรก มาจากการร้องรำทำเพลงของไทยดั้งเดิม อาทิ แหล่เทศน์ สวดคฤหัสถ์ จำอวด ลิเก (ทรงเครื่อง) ลิเกลูกหมด (ไม่แต่งเครื่อง) ลิเกบันตน ลำตัด เพลงขอทาน เพลงพื้นเมืองบางเพลง ฯลฯ โดยเพลงลูกทุ่งนำมาดัดแปลงแล้วใส่ดนตรีแบบสากล เป็นลักษณะเพลงแบบใหม่
วิวัฒนาการเพลงลูกทุ่งกล่าวได้ว่ามาจาก เพลงที่มีเนื้อร้องแบบกลอนแปด จะร้องสลับกับการเอื้อนทำนอง แต่ละเพลงจะมีความต่อเนื่องเป็นเพลงเถา ตับ ชั้น เช่น 2 ชั้น 3 ชั้น ฯ และมีความยาวพอสมควร เพลงมักจะเริ่มจากช้าไปหาเร็ว ต่อมาเพลงได้ถูกพัฒนา เป็นเพลงประกอบรำจนถึงเข้าเรื่องละคร และเนื่องจากมีความยาวเกินไปจึงพัฒนาให้กระชับลง โดยใส่คำร้องในทำนองเอื้อน เรียกว่า เนื้อเต็ม นาฏกรรมจากวรรณคดี เช่น โขน ละครร้องของเจ้านายในราชสำนัก ได้รับความนิยมในหมู่เจ้านายวังหน้า วังหลัง หรือนอกวัง การแสดงแบบคลาสสิค ก็ถูกปรับให้เข้ากับชาวบ้านจากโขน ละคร มาเป็นหนังสด ลิเก
ลิเกได้ถูกประยุกต์พัฒนา ให้เชื่อมโยงศิลปะการแสดงพื้นบ้านท้องถิ่นต่าง ๆ มาผสมผสานกัน ลิเกนั้นมักใช้ภาษาพูดจากหนังสือราชการ ใช้ราชาศัพท์จากเวียงวังในการแสดง ลิเกถือว่าเป็น “รากร่วมของศิลปวัฒนธรรมเพลงลูกทุ่งไทยอย่างแท้จริง” โดยก่อนหน้าที่จะถูกยอมรับว่าเป็น “เพลงลูกทุ่ง” นั้น เพลงจากไทยเดิม จากละครวรรณคดี ในยุคที่ขาดแคลนภาพยนตร์ ละครเวทีจึงได้รับความนิยมแทน ลักษณะละครเวทีสมัยใหม่ จะมีการร้องเพลงสลับฉาก วงที่เกิดและดังอยู่ตัวมาก่อนก็คือ “สุนทราภรณ์”[5] อันเป็นวงดนตรีราชการของกรมโฆษณาการ ที่มีครูเอื้อ ครูแก้ว สร้างเพลง และเพลงในยุคนั้น ราชการให้เรียกเพลงไทย(เดิม)และเพลงไทยสากล
ส่วน คำว่า “เพลงลูกทุ่ง” อาจารย์จำนง รังสิกุล คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 เพลงลูกทุ่งมีความชัดเจนจากเพลงลูกกรุงโดยประกอบ ไชยพิพัฒน์ จัดรายการเพลงสถานีไทย โทรทัศน์ ใช้ชื่อรายการว่า “เพลงลูกทุ่ง”
การจัดประกวดเพลงแผ่นดินทองคำครั้งแรกโดย “ป. วรานนท์” กับทีมวิทยุกองพล 1 โดยโกชัย เสมา ชำนาญ ฯลฯ ร่วมจัด จึงได้มีรางวัลเพลง “แผ่นเสียงทองคำพระราชทาน” เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ปี พ.ศ. 2507 ในครั้งเริ่มต้นมีแต่ประเภทลูกกรุง สุเทพ สวลี ได้รับรางวัลไปครองครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2509 ได้มีการเพิ่มหมวดหมู่ลูกทุ่งขึ้น โดย “สมยศ ทัศนพันธ์” เป็นคนแรกชนะด้วยเพลง “ช่อทิพย์รวมทอง”
ถ้าจะนับปีกำเนิดของเพลง แรกที่ควรถือเป็นต้นกำเนิด “แนวลูกทุ่ง” ก็น่าจะถือเอาเพลง “ขวัญของเรียม” แต่มีบางหลักฐานบันทึกไว้ว่าเพลงแรก คือเพลง “โอ้เจ้าสาวชาวไร่” ผลงานประพันธ์ทำนองและคำร้องของ ครูเหม เวชกร เมื่อ พ.ศ. 2481 ขับร้องโดย คำรณ สัมบุญณานนท์ เป็นเพลงประกอบละครวิทยุเรื่องสาวชาวไร่ ส่วนนักร้องลูกทุ่งคนแรก สมควรยกให้ “คำรณ สัมบุณณานนท์”
เพลงลูกทุ่งยุคแรก
ใน ยุคแรก ๆ เพลงลูกทุ่งและลูกกรุงยังถือว่าเป็นเพลงกลุ่มเดียวกัน ยังไม่มีการแยกประเภทออกจากกัน มีนักร้องเพลงไทยสากลได้ร้องเพลงประเภทที่มีสาระบรรยายถึงชีวิตชาวชนบท หนุ่มสาวบ้านนา และความยากจน โดยรู้จักกันในชื่อ “เพลงตลาด” หรือ “เพลงชีวิต” โดยส่วนใหญ่นักร้องเพลงตลาดหลายท่านจะประพันธ์เพลงเองด้วย อาทิ ไพบูลย์ บุตรขัน ชะลอ ไตรตรองสอน พยงค์ มุกดา มงคล อมาตยกุล เบ็ญจมินทร์ (ตุ้มทอง โชคชนะ) สุรพล สมบัติเจริญ ฯลฯ เป็นต้น ส่วนวงดนตรีที่เด่น ๆ ของเพลงแนวนี้ได้แก่ วงดนตรี “จุฬารัตน์” ของมงคล อมาตยกุล วงดนตรี “พยงค์ มุกดา” และ วงดนตรี “สุรพล สมบัติเจริญ” นับได้ว่าวงดนตรีทั้งสามนี้เป็นแหล่งก่อกำเนิดแยกตัวเป็นวงดนตรีเพลงลูกทุ่ง จำนวนมากในเวลาต่อมา
ในระยะแรกที่ยังไม่เรียกกันว่า “นักร้องลูกทุ่ง” นักร้องชายที่มีชื่อเสียง เช่น คำรณ สัมบุณณานนท์ ชาญ เย็นแข นิยม มารยาท ก้าน แก้วสุพรรณ ชัยชนะ บุญนะโชติ ทูล ทองใจ ฯลฯ ส่วนนักร้องหญิงที่มีชื่อเสียงเด่น ได้แก่ ผ่องศรี วรนุช ศรีสอางค์ ตรีเนตร
เมื่อปลายปี พ.ศ. 2507 เพลงลูกทุ่งเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นนับตั้งแต่ ประกอบ ไชยพิพัฒน์ นักจัดรายการเพลงทางสถานีไทยโทรทัศน์ได้ตั้งชื่อรายการว่า “เพลงลูกทุ่ง” และต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 มีการจัดงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทานในครั้งที่สอง ได้มีการพิจารณาการมอบรางวัลเพลงลูกทุ่งเพิ่ม โดยได้กำหนดความหมายของเพลงประกวดประเภท ค. (ลูกทุ่งหรือพื้นเมือง) ไว้ว่า คือ “เพลงที่มีลีลาการบรรเลงตลอดจนเนื้อร้อง ทำนองเพลงและการขับร้องไปในแนวเพลงพื้น จะเป็นทำนองเพลงผสมหรือดัดแปลงมาจากทำนองเพลงไทยภาคต่าง ๆ ซึ่งเรียกเพลงประเภทนี้ว่า “ลูกทุ่ง” ” ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการมอบรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานในฐานะนักร้อง ลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม โดย สมยศ ทัศนพันธ์ ได้รับรางวัลจากเพลง “ช่อทิพย์รวงทอง”
ยุคทองของเพลงลูกทุ่ง
สุรพล สมบัติเจริญ ได้ทำให้เพลงลูกทุ่งอยู่ในความนิยม ด้วยเอกลักษณ์ ลีลา และ รูปแบบเฉพาะตัว อีกทั้งยังแต่งเพลงร้องเองเป็นส่วนใหญ่ เขาเริ่มชีวิตการร้องเพลงจากกองดุริยางค์ทหารอากาศ สุรพลชอบใช้เพลงจังหวะรำวงในเพลงที่เขาแต่ง ผลงานเพลงของเขามีลีลาสนุกสนานครึกครื้นเป็นส่วนใหญ่ เช่น เพลงเสียวไส้ เพลงของปลอม ฯลฯ

ยุคของสุรพล สมบัติเจริญ อาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เพลงลูกทุ่งพัฒนามาถึงจุดสุดยอด เป็นยุคทองของเพลงลูกทุ่ง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2506 –2513 ในช่วงนี้ สุรพล สมบัติเจริญ ได้ออกผลงานเพลงลูกทุ่งออกมาเป็นจำนวนมากมาย นักแต่งเพลงรุ่นนี้สืบทอดการแต่งเพลงมาจากครูเพลงในยุคต้น ตัวอย่างเช่นพีระ ตรีบุปผา เป็นศิษย์ของสมยศ ทัศนพันธ์ ส่วนศิษย์ของวงดนตรีจุฬารัตน์ ได้แก่ พร ภิรมย์ สุชาติ เทียนทอง และชาย เมืองสิงห์ นักแต่งเพลงที่สำคัญท่านอื่น ๆ อาทิ เพลิน พรหมแดน จิ๋ว พิจิตร สำเนียง ม่วงทอง ฉลอง การะเกด ชาญชัย บัวบังศรี สมเสียร พานทอง ฯลฯ
เจน ภพ จบกระบวนวรรณ กล่าวไว้ในหนังสือ ดวลเพลงลูกทุ่ง ว่า “เพลงลูกทุ่งเฟื่องฟูสุดขีดในยุคสมัยของครูสุรพล สมบัติเจริญ (ประมาณปี 2504-2511) และหลังจากครูสุรพลถูกลอบยิงตายในขณะที่ชื่อเสียงกำลังเกรียงไกร หลังจากนั้นเพลงลูกทุ่งก็พุ่งขึ้นสู่ความนิยมชมชอบของผู้คนทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นชนบทหรือในเมือง”
และยังมีนักร้องลูกทุ่งเกิดขึ้นใหม่ หลายคน นักร้องเด่นของยุคนี้ได้แก่ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เพลิน พรหมแดน พร ภิรมย์ ชาย เมืองสิงห์ ศรคีรี ศรีประจวบ ก้าน แก้วสุพรรณ ไพรวัลย์ ลูกเพชร ผ่องศรี วรนุช สุชาติ เทียนทอง ฯลฯ